วิชา การงานอาชีพ

ความรู้เกี่ยวกับงานอาชีพ

ความรู้เกี่ยวกับงานอาชีพ
1.1 ประเภทและลักษณะของอาชีพ
อาชีพ หมายถึง การทำกิจกรรม การทำงาน การประกอบการที่ไม่เป็นโทษแก่สังคม
และมีรายได้ตอบแทน โดยอาศัยแรงงาน ความรู้ ทักษะ อุปกรณ์ เครื่องมือ วิธีการ
แตกต่างกันไป

ประเภทและลักษณะของอาชีพ
การแบ่งประเภทของอาชีพ สามารถจัดแบ่งตามลักษณะได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
แบ่งตามเนื้อหาวิชาของอาชีพ และแบ่งตามลักษณะของการประกอบอาชีพ

1. การแบ่งอาชีพตามเนื้อหาวิชาของอาชีพ
สามารถจัดกลุ่มอาชีพตามเนื้อหาวิชาได้เป็น 6 ประเภท ดังนี้

1.1 อาชีพเกษตรกรรม ถือว่าเป็นอาชีพหลัก และเป็นอาชีพสำคัญของประเทศ ปัจจุบันประชากรของไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ยังประกอบอาชีพนี้อยู่ อาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพเกี่ยวเนื่องกับการผลิต และการจัดจำหน่ายสินค้าและ
บริการทางด้านการเกษตรซึ่งผลผลิตทางการเกษตรนอกจากใช้ในการบริโภค
เป็นส่วนใหญ่แล้วยังใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตทางอุตสาหกรรมอีกด้วย

อาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ การทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ ฯลฯ

1.2 อาชีพอุตสาหกรรม การทำอุตสาหกรรม หมายถึง การผลิตสินค้าอันเนื่องมาจาก
การนำเอาวัสดุ หรือสินค้าบางชนิดมาแปรสภาพให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้มากขึ้น
กระบวนการประกอบการอุตสาหกรรม ประกอบด้วย


ในขั้นตอนของกระบวนการผลิต มีปัจจัยมากมายนับตั้งแต่แรงงาน เครื่องจักร เครื่องมือ
เครื่องใช้ เงินทุน ที่ดิน อาคาร รวมทั้งการบริหารจัดการ

การประกอบอาชีพอุตสาหกรรม แบ่งตามขนาด ได้ดังนี้
อุตสาหกรรม ในครอบครัว เป็นอุตสาหกรรมที่ทำกันในครัวเรือน หรือภายในบ้าน ใช้แรงงานคนในครอบครัวเป็นหลัก บางทีอาจใช้เครื่องจักรขนาดเล็กช่วยในการผลิต
ใช้วัตถุดิบ วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นมาเป็นปัจจัยในการผลิตอุตสาหกรรมในครัวเรือน
ได้แก่ การทอผ้า การจักสาน การทำร่ม การทำอิฐมอญ ฯลฯ ลักษณะการดำเนินงาน
ไม่เป็นระบบเท่าใดนัก รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีแบบง่าย ๆ ไม่ยุ่งยากซับซ้อน
และมีการลงทุนไม่มากนัก
อุตสาหกรรมขนาดย่อม เป็นอุตสาหกรรมที่มีการจ้างคนงานมากกว่า 50 คน
ใช้เงินทุนดำเนินการไม่เกิน 10 ล้านบาท อุตสาหกรรมขนาดย่อม ได้แก่ โรงกลึง
อู่ซ่อมรถ โรงงานทำขนมปัง โรงสีข้าว เป็นต้นในการดำเนินงานของอุตสาหกรรม
ขนาดย่อมมีขบวนการผลิตไม่ซับซ้อน ใช้แรงงานที่มีฝีมือไม่มากนัก
อุตสาหกรรมขนาดกลาง เป็นอุตสาหกรรมที่มีการจ้างคนงานมากกว่า 50คน
แต่ไม่เกิน 200 คน ใช้เงินทุนดำเนินการมากกว่า 10 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 100 ล้านบาท
อุตสาหกรรมขนาดกลางได้แก่ อุตสาหกรรมทอกระสอบ อุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป
เป็นต้น การดำเนินงานของอุตสาหกรรมขนาดกลางต้องมีการจัดการที่ดี แรงงานที่ใช้
ต้องมีทักษะ ความรู้ ความสามารถในกระบวนการผลิตเป็นอย่างดี เพื่อที่จะได้สินค้า
ที่มีคุณภาพระดับเดียวกัน
อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เป็นอุตสาหกรรมที่มีคนงานมากกว่า 200 คนขึ้นไป เงินทุน
ในการดำเนินการมากกว่า 200 ล้านบาท อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ได้แก่ อุตสาหกรรม
ผลิตแบตเตอรี่ อุตสาหกรรมถลุงเหล็ก เป็นต้น อุตสาหกรรมขนาดใหญ่มีระบบการจัดการ
ที่ดี ใช้คนที่มีความรู้ ทักษะ ความสามารถเฉพาะด้าน หลายสาขา เช่น วิศวกรรม
อิเล็กทรอนิกส์ ในการดำเนินงานผลิตมีกรรมวิธีที่ยุ่งยาก ใช้เครื่องจักร คนงาน เงินทุน
จำนวนมากขึ้น มีกระบวนการผลิตที่ทันสมัยและผลิตสินค้าได้ทีละมาก ๆ มีการว่าจ้างบุคคลระดับผู้บริหารที่มีความสามารถ

1.3 อาชีพพาณิชยกรรมและอาชีพบริการ
อาชีพ พาณิชยกรรม เป็นการประกอบอาชีพที่เป็นการแลกเปลี่ยนระหว่างสินค้ากับเงิน ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นการซื้อมาและขายไป ผู้ประกอบอาชีพทางพาณิชยกรรมจึงจัด
เป็นคนกลาง ซึ่งทำหน้าที่ซื้อสินค้าจากผู้ผลิตและนำมาขายต่อให้แก่ผู้บริโภค ประกอบด้วย
การค้าส่งและการค้าปลีก โดยอาจจัดจำหน่าย ในรูปของการขายตรงหรือขายอ้อม

อาชีพบริการ หมายถึง อาชีพที่ทำให้เกิดความพอใจแก่ผู้ซื้อ การบริการอาจเป็นสินค้า
ที่มีตัวตน หรือไม่มีตัวตนก็ได้ การบริการที่มีตัวตน ได้แก่ บริการขนส่ง บริการทางการเงิน
ส่วนบริการที่ไม่มีตัวตน ได้แก่ บริการท่องเที่ยว บริการรักษาพยาบาล เป็นต้น

อาชีพ พาณิชยกรรม จึงเป็นตัวกลางในการขายสินค้า หรือบริการต่าง ๆ นับตั้งแต่การนำวัตถุดิบจากผู้ผลิตทางด้านเกษตรกรรม ตลอดจนสินค้าสำเร็จรูป
จากโรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งคหกรรม ศิลปกรรม หัตถกรรม ไปให้ผู้ซื้อ หรือผู้บริโภค
อาชีพพาณิชยกรรมจึงเป็นกิจกรรมที่สอดแทรกอยู่ทุกอาชีพ ในการประกอบอาชีพ
พาณิชยกรรม หรือบริการ ผู้ประกอบอาชีพจะต้องมีความสามารถในการจัดหา
มีความคิดริเริ่ม และมีคุณธรรม จึงจะทำให้การประกอบอาชีพเจริญก้าวหน้า

1.4 อาชีพคหกรรม การประกอบอาชีพคหกรรม ได้แก่ อาชีพที่เกี่ยวกับการประกอบ
อาหาร ขนม การตัดเย็บ การเสริมสวย ตัดผม เป็นต้น

1.5 อาชีพหัตถกรรม การประกอบอาชีพหัตถกรรม ได้แก่ อาชีพที่เกี่ยวกับงานช่าง โดยการใช้มือในการผลิตชิ้นงานเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ อาชีพจักสาน แกะสลัก
ทอผ้าด้วยมือ ทอเสื่อ เป็นต้น

1.6 อาชีพศิลปกรรม การประกอบอาชีพศิลปกรรม ได้แก่ อาชีพเกี่ยวข้องกับ
การแสดงออกในลักษณะต่าง ๆ เช่น การวาดภาพ การปั้น การดนตรี ละคร
การโฆษณา ถ่ายภาพ เป็นต้น

2. การแบ่งอาชีพตามลักษณะของการประกอบอาชีพ
นอกจากจะจัดกลุ่มอาชีพเป็น 6 ประเภทแล้ว เรายังสามารถจัดกลุ่มอาชีพตาม
ลักษณะการประกอบอาชีพ เป็น 2 ลักษณะ คือ อาชีพอิสระ และอาชีพรับจ้าง
1. อาชีพอิสระ หมายถึง อาชีพทุกประเภทที่ผู้ประกอบการดำเนินการด้วยตนเอง
แต่ เพียงผู้เดียวหรือเป็นกลุ่ม อาชีพอิสระเป็นอาชีพที่ไม่ต้องใช้คนจำนวนมาก แต่หากมีความจำเป็นอาจมีการจ้างคนอื่นมาช่วยงานได้ เจ้าของกิจการเป็นผู้ลงทุน
และจำหน่ายเอง คิดและตัดสินใจด้วยตนเองทุกเรื่อง ซึ่งช่วยให้การพัฒนางานอาชีพ
เป็นไปอย่างรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ การประกอบอาชีพอิสระ เช่น ขายอาหาร
ขายของชำ ซ่อมรถจักรยานยนต์ ฯลฯ
ในการประกอบอาชีพอิสระ ผู้ประกอบการจะต้องมีความรู้ ความสามารถในเรื่อง
การบริหาร การจัดการ เช่น การตลาด ทำเลที่ตั้ง เงินทุน การตรวจสอบ
และประเมินผล เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องมีความอดทนต่องานหนัก ไม่ถ้อถอยต่อ
ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ และมองเห็นภาพการดำเนินงาน
ของตนเองได้ทะลุปรุโปร่ง
2. อาชีพรับจ้าง หมายถึง อาชีพที่มีผู้อื่นเป็นเจ้าของกิจการ โดยตัวเองเป็นผู้รับจ้าง
ทำงานให้ และได้รับค่าตอบแทนเป็นค่าจ้าง หรือเงินเดือน อาชีพรับจ้างประกอบด้วย
บุคคล 2 ฝ่าย ซึ่งได้ตกลงว่าจ้างกัน บุคคลฝ่ายแรกเรียกว่า "นายจ้าง" หรือผู้ว่าจ้าง
บุคคลฝ่ายหลังเรียกว่า "ลูกจ้าง" หรือผู้รับจ้าง มีค่าตอบแทนที่ผู้ว่าจ้างจะต้องจ่ายให้แก่
ผู้รับจ้างเรียกว่า "ค่าจ้าง"
การประกอบอาชีพรับจ้าง โดยทั่วไปมีลักษณะ เป็นการรับจ้างทำงานในสถาน
ประกอบการหรือโรงงาน เป็นการรับจ้างในลักษณะการขายแรงงาน โดยได้รับค่าตอบ
แทนเป็นเงินเดือน หรือค่าตอบแทนที่คิดตามชิ้นงานที่ทำได้ อัตราค่าจ้างขึ้นอยู่กับการกำหนด
ของเจ้าของสถานประกอบการ หรือนายจ้าง การทำงานผู้รับจ้างจะทำอยู่ภายในโรงงาน
ตามเวลาที่นายจ้างกำหนด การประกอบอาชีพรับจ้างในลักษณะนี้มีข้อดีคือ ไม่ต้องเสี่ยง
กับการลงทุน เพราะลูกจ้างจะใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ที่นายจ้างจัดไว้ให้ทำงานตามที่นายจ้าง
กำหนด แต่มีข้อเสีย คือ มักจะเป็นงานที่ทำซ้ำ ๆ เหมือนกันทุกวัน และต้องปฏิบัติตามกฎ
ระเบียบของนายจ้าง
ในการประกอบอาชีพรับจ้างนั้น มีปัจจัยหลายอย่างที่เอื้ออำนวยให้ผู้ประกอบอาชีพ
รับจ้างมีความเจริญก้าวหน้าได้ เช่น ความรู้ ความชำนาญในงาน มีนิสัยการทำงานที่ดี
มีความกระตือรือร้น มานะ อดทน ในการทำงาน ยอมรับกฎเกณฑ์และเชื่อฟังคำสั่ง
มีความซื่อสัตย์ สุจริต ความขยันหมั่นเพียร รับผิดชอบ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี รวมทั้ง
สุขภาพอนามัยที่ดี
อาชีพต่าง ๆ ในโลกมีมากมาย หลากหลายอาชีพ ซึ่งบุคคลสามารถจะเลือกประกอบ
อาชีพได้ตามความถนัด ความต้องการ ความชอบ และความสนใจ ไม่ว่าจะเป็นอาชีพ
ประเภทใด จะเป็นอาชีพอิสระ หรืออาชีพรับจ้าง ถ้าหากเป็นอาชีพที่สุจริตย่อมจะทำให้
เกิดรายได้มาสู่ตนเอง และครอบครัว ถ้าบุคคลผู้นั้นมีความมุ่งมั่น ขยัน อดทน ตลอดจน
มีความรู้ ข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพต่าง ๆ จะทำให้มองเห็นโอกาสในการเข้าสู่อาชีพ และพัฒนา
อาชีพใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นอยู่เสมอ

กรณีตัวอย่างการประกอบอาชีพ ต่าง ๆ

อาชีพพนักงานขับรถประจำทาง
คุณทองคำ ณรงค์ฤทธิ์ พนักงานขับรถโดยสารรถประจำทางปรับอากาศ ขสมก.
จาก ประสบการณ์ที่เคยขับรถ 10 ล้อ ส่งของไปต่างจังหวัดมาก่อน ประกอบกับรักการขับรถ ทำให้ไปสมัครเป็นพนักงานขับรถของ ขสมก. คุณทองคำบอกว่า การขับรถต้องอดทนมาก ต้องรับผิดชอบคนในรถทั้งหมด ตั้งแต่เริ่มต้นจนจุดสุดท้าย การขับรถต้องระมัดระวังมาก ต้องปรับตัวและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าตลอดเวลา บางครั้งเครียด โดยเฉพาะช่วงที่การ
จราจรติดขัด งานเป็นชีวิตจิตใจ มีความสุขกับการทำงาน งานที่ทำเป็นงานที่ต่อสู้กับตัวเอง ทำให้รู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง
คุณทองคำ ได้รับคำชมจากผู้โดยสารอยู่เสมอ และได้รับรางวัลให้เป็นพนักงานดีเด่นของ
ขสมก. ด้วย

อาชีพวิศวกร
คุณเพียงฤทัย ศิวารัตน์ วิศวกรอุตสาหกรรมประจำบริษัทซีเกทซึ่งเป็นบริษัทที่ผลิต
หน่วยเก็บความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์มีหน้าที่วิเคราะห์และปรับปรุงขั้นตอน การผลิต
ให้ลดลงแต่ประสิทธิภาพคงเดิม คุณเพียงฤทัยกล่าวว่า ชอบอาชีพวิศวกรมากเพราะ
ต้องเรียนรู้ตลอดเวลาทั้งทางด้านเทคนิคและความรู้รอบตัว ที่สำคัญต้องทันสมัยก้าว
ให้ทันโลก จะทำงานด้านนี้เรื่อย ๆ และการทำงานอยู่ในปัจจุบันก็สนุกมีการเปลี่ยน
แปลง ทางเทคโนโลยีค่อนข้างสูง ทำให้งานไม่น่าเบื่อและยังท้าทายอีกด้วย แม้ว่าเธอจะเป็นวิศวกรหญิงคนเดียวในบริษัท แต่ก็ไม่มีปัญหาอะไรในการทำงาน ทุกคนให้การยอมรับและร่วมมือด้วยดีเสมอ

อาชีพช่างอิเล็กทรอนิกส์
คุณวาทิต สิริวรจรรยาดี เจ้าของร้าน ว.สุราษฎร์ เซลล์ เซอร์วิส อำเภอเมือง จังหวัด
สุราษฎร์ ธานี กล่าวว่า จากประสบการณ์ในการประกอบอาชีพอิสระตั้งแต่อยู่ในวัยเรียน รับงานซ่อมทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ควบคู่ไปกับการศึกษา โดยที่เป็นคนขยันและสนใจ
ต่อวิชาชีพแขนงนี้ จึงเกิดแรงบันดาลใจที่จะนำไปประกอบอาชีพอย่างต่อเนื่องจนสามารถ
ผลักดันให้ได้เป็นเจ้าของร้านอิเล็กทรอนิกส์ที่มีชื่อเสียงในจังหวัด

ในการประกอบอาชีพอิสระนั้นคุณวาทิตกล่าวว่า ใช้หลักการบริหารสมัยใหม่เช่น
การ วางเป้าหมายของธุรกิจ มีการวางแผนการทำงานเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด มีการประเมินผลงานและปรับปรุงงานให้ทันต่อเหตุการณ์ สร้างทีมงานกับผู้ร่วมงานโดย
ไม่ถือว่าตนเองเป็นนาย ทำงานหนัก และมีการสรุปงบรายรับ-รายจ่ายให้เห็นได้ชัดเจน

อาชีพเกษตรกรรม
คุณเรวัตร แก่นเพิ่ม ชาวจังหวัดนครสวรรค์มีพื้นฐานทางการศึกษาด้านสัตวบาลและ
มีประสบการณ์ในการฝึกงานตรงระหว่างการศึกษา ในการดำเนินการเลี้ยงสุกร
จากธุรกิจขนาดย่อมจนขยายกิจการเป็นธุรกิจฟาร์มสุกร ที่ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง
คุณเรวัตร เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบสูง ขยัน ซื่อสัตย์ และมีความมานะพยายาม
ที่ จะเสริมสร้างกิจการของตนเอง ให้เป็นธุรกิจฟาร์มที่มั่นคง มีรายได้แน่นอน สามารถที่จะกล้าเผชิญกับปัญหาอุปสรรคที่ประสบอย่างไม่ท้อถอย เช่น ปัญหา
ราคาสุกรที่ไม่คงที่ ภาวะของราคาอาหารที่ขึ้น ๆ ลง ๆ และปัญหาโรคสัตว์ในรูปแบบ
ต่าง ๆ ซึ่งท้าทายต่อการจัดการ แต่ด้วยใจรักอาชีพอิสระแขนงนี้ คุณเรวัตรจึงมีความ
พร้อมที่จะผลักดันและมุ่งจะพัฒนาอาชีพของตนให้เจริญก้าวหน้าต่อไป

1.2 การมองเห็นโอกาสในการประกอบอาชีพ
การมองเห็นโอกาสและความสามารถที่จะนำโอกาสนั้นมาประกอบอาชีพ
ได้ก่อนผู้อื่น เป็น หัวใจ สำคัญของการประกอบอาชีพ หากผู้ใดประกอบอาชีพ
ตามที่ตลาดต้องการ และเป็นอาชีพที่เหมาะสมกับสภาพการ์ในขณะนั้น ผู้นั้น
ย่อมมีโอกาสประสบความสำเร็จ เราสามารถพัฒนาตนเอง ให้มองเห็นโอกาส
ในการประกอบอาชีพ ดังนี้
1. ความชำนาญจากงานที่ทำในปัจจุบันการงานที่ทำอยู่ในปัจจุบันจะเป็นแหล่งความ รู้
ความคิดที่จะช่วยให้มองเห็นโอกาสในการประกอบอาชีพได้มาก บางคนมีความชำนาญ
ทางด้านการทำอาหาร ตัดเย็บเสื้อผ้า ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า ต่อท่อน้ำประปา ช่างไม้
ช่างปูกระเบื้อง เป็นต้น ซึ่งความสามารถ นำความชำนาญดังกล่าวมาพัฒนาและประกอบ
เป็นอาชีพขึ้นมา บางคนเคยทำงานที่โรงงานทำขนมปัง เมื่อกลับไปภูมิลำเนาของตนเองที่
ต่างจังหวัด ก็สามารถใช้ประสบการณ์ ที่ได้รับไปประกอบอาชีพของตนเองได้
2. ความชอบ ความสนใจส่วนตัว หรืองานอดิเรก เป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยให้มองเห็น
โอกาส ในการประกอบอาชีพ บางคนชอบประดิษฐ์ดอกไม้ บางคนชอบวาดรูป เป็นต้น บุคคลเหล่านี้อาจจะพัฒนางานที่ชอบ งานอดิเรกได้กลายเป็นอาชีพหลัก ที่ทำรายได้
เป็นอย่างดี
3. การฟังความคิดเห็นจากแหล่งต่าง ๆ การพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบุคคล
กลุ่มต่าง ๆ เป็นแหล่งความรู้และก่อให้เกิดความคิดริเริ่มเป็นอย่างดี ในบางครั้งเรามี
ความ คิดอยู่แล้ว การได้พูดคุยกับบุคคลต่าง ๆ จะช่วยให้การวิเคราะห์ความคิดชัดเจนขี้น ช่วยให้มองไปข้างหน้าได้อย่างรอบคอบ ก่อนที่จะลงมือทำงานจริง
4. การศึกษา ค้นคว้าจากหนังสือ นิตยสาร หนังสือพิมพ์ การดูวิดีทัศน์ ฟังวิทยุ
ดูรายการโทรทัศน์ เป็นต้น จะช่วยทำให้เกิดความรู้และความคิดใหม่ ๆ ได้
5. ข้อมูล สถิติ รายงาน ข่าวสารจากหน่วยราชการและเอกชน รวมทั้งแผนพัฒนา
เศรษฐกิจ ของประเทศ ในการมองหาช่องทางในการประกอบอาชีพ ผู้ที่จะมองหาอาชีพ พัฒนาอาชีพจึงควรให้ความสนใจในข้อมูลข่าวสารต่างๆ เพื่อติดตามให้ทันต่อเหตุการณ์
แล้วนำมาพิจารณา ประกอบการตัดสินใจในการประกอบอาชีพ

1.3 การศึกษา สำรวจอาชีพ
อาชีพแต่ละอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นอาชีพอิสระ หรืออาชีพรับจ้าง ย่อมมีความแตกต่างกัน
ไม่ว่าจะเป็นด้านปัจจัย กระบวนการ และผลผลิต ตลอดจนคุณลักษณะเฉพาะ
ของผู้ประกอบการสำหรับอาชีพ นั้น ในการประกอบอาชีพของแต่ละคนย่อมมีจุดเริ่มต้น
ระยะ เวลาของการประกอบอาชีพการใช้ความรู้ ความสามารถ ปัญหา อุปสรรค ตลอดจนแนวทางการพัฒนาอาชีพแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภท และลักษณะ
ของการประกอบอาชีพ
สำหรับผู้ที่มองเห็นช่องทางในการประกอบอาชีพซึ่งอาจยังขาดความรู้และ ประสบการณ์
ตรงในงานอาชีพที่ตนเองสนใจ และคิดว่าเมื่อตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพดังกล่าว
แล้วสามารถประสบความสำเร็จได้ ก่อนการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพ แล้วสามารถ
ประสบความสำเร็จได้ ควรได้มีการศึกษาข้อมูลต่าง ๆ จากผู้ที่ดำเนินการประกอบอาชีพ
นั้น ๆ อยู่ก่อนแล้ว เพื่อจะนำเอาข้อมูลที่เป็นความรู้ หรือประสบการณ์เหล่านั้นมาประกอบ
การพิจารณา และเป็นแนวทางในการดำเนินงานของตนเองต่อไป
การสำรวจอาชีพ มีแนวทางในการศึกษาดังนี้

1. การศึกษาอาชีพอิสระ ประเด็นที่ควรมีการศึกษาพิจารณา ประกอบด้วย
1) ประวัติส่วนตัวของผู้ประกอบอาชีพ เพื่อให้ทราบถึงความถนัด ความสามารถ
ความสนใจ ตลอดจนคุณลักษณะที่สำคัญ และจำเป็นสำหรับการประกอบอาชีพ
2) ระยะเวลาของการประกอบอาชีพ เพื่อให้ทราบถึงสภาวะ และความมั่นคง
ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน และในอนาคต
3) จุดเริ่มต้น/มูลเหตุจูงใจในการประกอบอาชีพ เพื่อให้ทราบถึงเหตุผล ที่มาของการตัดสินใจประกอบอาชีพดังกล่าว
4) การเตรียมตัวก่อนการประกอบอาชีพ เพื่อให้ทราบถึง แนวทางการเตรียม
ความพร้อมในด้านต่าง ๆ
5) การดำเนินงาน เพื่อให้ทราบถึงวิธีการ หรือขั้นตอนของการดำเนินงาน
ในการประกอบอาชีพ
6) การเสริมสร้างความมั่นคงในการประกอบอาชีพ เพื่อให้ทราบถึงแนวทางการ
พัฒนาอาชีพ
7) ปัญหาอุปสรรคในการประกอบอาชีพ เพื่อให้ทราบถึงปัญหา อุปสรรคตลอด
จนแนวทางการแก้ปัญหา
8) แนวคิดในการขยายกิจการ เพื่อให้ทราบถึงวิสัยทัศน์ในการทำงาน การปรับปรุง
และพัฒนางานอาชีพที่ทำด้วย
2. การศึกษาสำรวจอาชีพรับจ้าง ประเด็นที่ควรมีการศึกษาพิจารณา ประกอบด้วย
ประวัติส่วนตัวของผู้ประกอบอาชีพ เพื่อให้ทราบถึงความถนัด ความสามารถ
ความสนใจ ตลอดจนคุณลักษณะ สำคัญและ จำเป็นสำหรับการประกอบอาชีพ
1) ความรับผิดชอบในงานที่ทำอยู่เพื่อให้ทราบถึงขอบข่าย ภาระงาน
2) นายจ้าง เพื่อให้ทราบถึงความต้องการ จุดประสงค์ ตลอดจนลักษณะนิสัยใจคอ
3) จุดเริ่มต้น/มูลเหตุจูงใจในการประกอบอาชีพ เพื่อให้ทราบถึงเหตุผลที่มาของ
การตัดสินใจประกอบอาชีพ
4) ระยะเวลาของการทำงาน เพื่อให้ทราบถึงสภาวะ และความมั่นคง ตั้งแต่อดีต
ปัจจุบัน และในอนาคต
5) ความพึงพอใจ/ความประทับใจในการประกอบอาชีพ เพื่อให้ทราบถึงกระบวนการ
วิธีการทำงาน
6) รายได้หรือสวัสดิการ เพื่อให้ทราบถึงสภาวะความมั่นคง การเอาใจใส่ดูแล
ความยุติธรรม ฯลฯ
7) ความคาดหวังในอนาคต จากการประกอบอาชีพเพื่อให้ทราบถึงแนวทางการพัฒนา
ตน เอง นายจ้าง ฯลฯ นอกจากนี้ อาจมีประเด็นอื่น ๆ ที่สามารถจะนำมาใช้ในการศึกษา สำรวจอาชีพได้อีกทั้งนี้เพื่อจะทำให้ได้ข้อมูลต่าง ๆ อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ซึ่งจะช่วยทำ
ให้การตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพ มีความถูกต้อง สอดคล้องกับตนเองได้มากที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น